สถาบันรัชต์ภาคย์ หลักสูตรสมัยใหม่

เกี่ยวกับมูลนิธิธรรมาภิวัตน์
ท่านสามารถเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ เพื่อการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิฯ โครงการต่างๆ และช่องทางการช่วยเหลือมูลนิธิฯ โดยที่ท่านไม่ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับตัวท่านให้แก่มูลนิธิฯ เว็บไซต์ของมูลนิธิฯ คือ https://thammapiwat.org
วัตถุประสงค์การจัดตั้ง
  1. เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการสนับสนุน และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมในสังคม
  2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการศึกษางานวิจัย และบริการทางการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการสื่อสาร
  3. เพื่อรณรงค์และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองที่ดีในสังคมและประชาคมโลก
  4. เพื่อเป็นสื่อกลางและสนับสนุนกิจกรรมในการศึกษา วิจัย และบริการสาธารณะประโยชน์ให้แก่รัฐ เอกชนและประชาชน
  5. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การบำรุง บูรณะ ปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน โบราณสถาน สถาปัตยกรรม ประติมากรรมและนวัตกรรมต่าง ๆ
  6. เพื่อส่งเสริมการจัดการทรัพยากรของประเทศและโลกอย่างคุ้มค่าต่อมนุษยชาติ
  7. เพื่อดำเนินกิจกรรมจัดหาทุนในการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของมูลนิธิ โดยไม่แสวงหากำไร
  8. เพื่อดำเนินการ สนับสนุน และร่วมมือกับองค์กรของรัฐ เอกชน ประชาชนและองค์กรการกุศลทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อประโยชน์ของสังคม และประเทศชาติ
วิสัยทัศน์
ผู้นำองค์กรสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
พันธกิจ​
  1. สนับสนุนการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน โดยส่งเสริมเด็ก ผู้พิการ ผู้ขอโอกาส และผู้สูงอายุได้เรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในโลกปัจจุบัน และรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก อนาคต
  2. ส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ด้วยการฝึกอบรมโครงการระยะสั้นและระยะยาว การให้บริการงานวิจัยหลักสูตรศิลปะการจัดการ สื่อการสอนออนไลน์ บนฐานการวิจัยและ พัฒนา
  3. เป็นศูนย์วิจัยและให้คําปรึกษา เพื่อการวิจัยและพัฒนา ทางการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี
  4. สนับสนุนกลุ่มผู้นําท้องถิ่น กลุ่มจิตอาสาพัฒนาถิ่นกําเนิด เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ทางด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี
  5. สร้างสรรค์กิจกรรมที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง โดยไม่มุ่งแสวงกําไรทางการค้าและบริการ
เครื่องหมายมีลักษณะเป็นมือที่โอบโค้งเหมือนดอกบัวตูมโอบดอกบัวบาน โดยมีหัวใจอยู่ภายใน และอักษรย่อ FGF อยู่ตรงกลาง มีชื่อภาษาอังกฤษอยู่ภายใต้รูปมือ (Foundation for Globalization and Fairness) มีชื่อมูลนิธิภาษาไทย (มูลนิธิธรรมาภิวัตน์) ด้านล่างมีเส้นฐานรองรับ
เครือข่ายสมาชิกของมูลนิธรรมาภิวัตน์
ประเภทสมาชิก
มูลนิธิธรรมาภิวัตน์ จำแนกเครือข่ายสมาชิกของมูลนิธรรมาภิวัตน์ ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) สมาชิกสามัญ (2) สมาชิกทั่วไป และ (3) สมาชิกสมทบ มีรายละเอียด ดังนี้
(1) สมาชิกสามัญ
สมาชิกสามัญของมูลนิธิธรรมาภิวัตน์ ประกอบด้วย สถาบันทางการศึกษา สมาคม มูลนิธิ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรเพื่อสังคม และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ในรูปแบบนิติบุคคล
(2) สมาชิกทั่วไป
สมาชิกทั่วไปของมูลนิธิธรรมาภิวัตน์ ประกอบด้วย นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา บุคคลผู้ประกอบอาชีพในทุกสาขาอาชีพ บุคคลทั่วไป และจิตอาสาทุกประเภท
(3) สมาชิกสมทบ
สมาชิกสมทบของมูลนิธิธรรมาภิวัตน์ ประกอบด้วย ภาคเอกชน และอื่น ๆ