สถาบันรัชต์ภาคย์ หลักสูตรสมัยใหม่

สถาบันรัชต์ภาคย์เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี)
เน้นสร้างผู้นำการจัดการเชิงสร้างสรรค์ หลากหลายวิชาชีพ ให้มีจิตสำนึกดี มีคุณธรรมจริยธรรม และยึดมั่นจรรยาบรรณ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท)
จิตสำนึกดีมีคุณธรรม สรรสร้างศิลปศาสตร์การจัดการสู่ความเป็นเลิศ
ซึ่งเป็นหลักสูตรคุณภาพ ที่ได้ผ่าน ความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา (สกอ.) ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลใน การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพสังคมยุคดิจิทัล
โดยเปิดมีภาคพิเศษ (VIP)
เรียนเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ เปิดโอกาสให้ กลุ่มคนท างานทุกระดับ ทุกองค์กร ได้ ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท หรือปริญญาตรี – โทต่อเนื่อง เพื่อนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง การปรับตำแหน่ง การปรับ ฐานเงินเดือน การพัฒนาองค์การ สังคม และประเทศชาติต่อไป
ปรัชญา
“ความรู้คือแสงสว่างแห่งชีวิต” (Knowledge is the Light of Life)
ปณิธาน
มุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตที่เป็นพลเมืองดีมีความรู้ที่ก้าวหน้าทันสมัย ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ในการศึกษาหาความรู้ในระดับสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความสามารถในด้านภาษา และวัฒนธรรม คณะศิลปศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่า ภาษาก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และความเข้าใจที่ดีต่อกันช่วยผดุงไว้ซึ่งสันติภาพ (Languages create understanding; good understanding keeps peace)
วัตถุประสงค์
คณะศิลปศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในแต่ละสาขาซึ่ง ได้แก่ สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ สาขาศาสตร์แห่งภูมิปัญญาสร้างสรรค์เพื่อการจัดการ สาขาวิชาศึกษาทั่วไปและสาขาศิลปการจัดการ ดังนี้
สาขาศิลปการจัดการ

1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นนักบริหารสมัยใหม่เป็นผู้นำองค์กรที่พึงประสงค์มีองค์ความรู้และทักษะด้านการคิด การวิเคราะห์และการบูรณาการ มีความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์กรและสังคม และรองรับการขยายตัวของกิจการภาครัฐ ภาคเอกชน และทุกภาคส่วน

2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรูความเข้าใจในศาสตร์ทางด้านการบริหารจัดการ ทั้งที่เป็นศาสตร์ดั้งเดิมและศาสตร์สมัยใหม่ ทั้งที่เป็นเครื่องมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรภาครัฐ

3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นนักบริหารจัดการสมัยใหม่ที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัยในการทำงาน มีความสำนึกในจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อหน้าที่ และสังคม ในฐานะที่เป็นพลเมืองของชาติและของโลก